Skip to content

เกี่ยวกับเรา

แนะนำถนนสายไม้

ความเป็นมาชุมชนประชานฤมิตร

ชุมชนประชานฤมิตรในสมัยก่อนที่จะเจริญรุ่งเรือง พื้นที่ดั้งเดิมชาวบ้านมีอาชีพทางการเกษตร ยกร่องทำสวน มีการปลูกทั้งส้ม ทุเรียน ขนุน ละมุด ลำไย เป็นต้น ถนนคันดินสมัยนั้น จะมีฝุ่นฟุ้งกระจายในช่วงหน้าแล้ง พอถึงหนาฝนจะกลายเป็นบ่อโคลน ชาวบ้านใช้สัญจรไปมาบ้างเดิน บ้างขี่จักรยาน มีรถยนต์บ้างแต่ไม่มาก สองฝั่งถนนมีร้านรวงเป็นห้องแถวไม้ปลูกเป็นแถวยาว ถัดจากห้องแถวไม้ด้านหลังยังเป็นร่องสวน ปลูกไม้ผลมากมายเรียงรายนับตั้งแต่ปากซอยเข้ามาเลยทีเดียว ใครจะกินก็เก็บสอยเอาตามใจชอบ ทั่วบริเวณมีแต่ความร่มรื่น นอกจากอาชีพทำสวนแล้ว ก็เคยมีการเผาข้าวหลามขาย มีชื่อเสียงว่าเป็นข้าวหลามสามรส อร่อยเป็นที่เลื่องลือ เรียกขานกันมาจนทุกวันนี้ว่า “ซอยข้าวหลาม” เหลือเป็นแอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง
หนึ่งในเจ้าของที่ดินเก่าแก่ (รายนามทั้ง 16 ท่านถูกระบุไว้เป็นเกียรติประวัติแก่ชุมชนและวงศ์ตระกูล)คุณปู่เฉลิม สุขมาก ท่านเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างถนนในชุมชนแห่งนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า ท่านจึงได้ปรึกษาคุณครูวัติ ขำสายทอง เจ้าของที่ดินปากซอย คุณพ่อพิศ ธรรมศาสตร์สิทธิ์ และท่านนายอำเภอสุมนต์ ปิ่นแก้ว นายอำเภอดุสิตในสมัยนั้น (ในขณะนั้นพื้นที่แห่งนี้เป็นตำบลบางซื่อ อำเภอดุสิต) ทุกท่านได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจออกเดินขอที่ดินจากเจ้าของที่ดินข้างละ 3 เมตร (เดิมเป็นคันดินกว้าง 2 เมตร จึงกลายเป็นถนนกว้าง 8 เมตรในปัจจุบัน) แต่ด้วยทางอำเภอไม่มีงบประมาณ คุณปู่เฉลิม สุขมากและคุณครูวัติ ขำสายทอง จึงร่วมกันออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็นค่าจ้างในการเริ่มต้นทำถนน ปี 2504 มีการปรับเป็นถนนลาดยาง และได้ตั้งชื่อว่า “ซอยร่วมสุข” จากนั้นปี 2522 ได้มีการปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และเปลี่ยนชื่อเป็นซอยประชานฤมิตร ซึ่งชื่อนี้มีความหมายในตัวยิ่งนัก
เมื่อชุมชนมีความเจริญมากขึ้น วิถีชีวิตของชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาประกอบอาชีพทำการค้าขาย ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน จนขยายเป็นแหล่งการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นรู้จัก

*ภาพประกอบจาก ‘สารคดี’

ความเป็นมาชุมชนประชานฤมิตร

ชุมชนประชานฤมิตรในสมัยก่อนที่จะเจริญรุ่งเรือง พื้นที่ดั้งเดิมชาวบ้านมีอาชีพทางการเกษตร ยกร่องทำสวน มีการปลูกทั้งส้ม ทุเรียน ขนุน ละมุด ลำไย เป็นต้น ถนนคันดินสมัยนั้น จะมีฝุ่นฟุ้งกระจายในช่วงหน้าแล้ง พอถึงหนาฝนจะกลายเป็นบ่อโคลน ชาวบ้านใช้สัญจรไปมาบ้างเดิน บ้างขี่จักรยาน มีรถยนต์บ้างแต่ไม่มาก สองฝั่งถนนมีร้านรวงเป็นห้องแถวไม้ปลูกเป็นแถวยาว ถัดจากห้องแถวไม้ด้านหลังยังเป็นร่องสวน ปลูกไม้ผลมากมายเรียงรายนับตั้งแต่ปากซอยเข้ามาเลยทีเดียว ใครจะกินก็เก็บสอยเอาตามใจชอบ ทั่วบริเวณมีแต่ความร่มรื่น นอกจากอาชีพทำสวนแล้ว ก็เคยมีการเผาข้าวหลามขาย มีชื่อเสียงว่าเป็นข้าวหลามสามรส อร่อยเป็นที่เลื่องลือ เรียกขานกันมาจนทุกวันนี้ว่า “ซอยข้าวหลาม” เหลือเป็นแอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง
หนึ่งในเจ้าของที่ดินเก่าแก่ (รายนามทั้ง 16 ท่านถูกระบุไว้เป็นเกียรติประวัติแก่ชุมชนและวงศ์ตระกูล)คุณปู่เฉลิม สุขมาก ท่านเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างถนนในชุมชนแห่งนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า ท่านจึงได้ปรึกษาคุณครูวัติ ขำสายทอง เจ้าของที่ดินปากซอย คุณพ่อพิศ ธรรมศาสตร์สิทธิ์ และท่านนายอำเภอสุมนต์ ปิ่นแก้ว นายอำเภอดุสิตในสมัยนั้น (ในขณะนั้นพื้นที่แห่งนี้เป็นตำบลบางซื่อ อำเภอดุสิต) ทุกท่านได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจออกเดินขอที่ดินจากเจ้าของที่ดินข้างละ 3 เมตร (เดิมเป็นคันดินกว้าง 2 เมตร จึงกลายเป็นถนนกว้าง 8 เมตรในปัจจุบัน) แต่ด้วยทางอำเภอไม่มีงบประมาณ คุณปู่เฉลิม สุขมากและคุณครูวัติ ขำสายทอง จึงร่วมกันออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็นค่าจ้างในการเริ่มต้นทำถนน ปี 2504 มีการปรับเป็นถนนลาดยาง และได้ตั้งชื่อว่า “ซอยร่วมสุข” จากนั้นปี 2522 ได้มีการปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และเปลี่ยนชื่อเป็นซอยประชานฤมิตร ซึ่งชื่อนี้มีความหมายในตัวยิ่งนัก
เมื่อชุมชนมีความเจริญมากขึ้น วิถีชีวิตของชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาประกอบอาชีพทำการค้าขาย ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน จนขยายเป็นแหล่งการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นรู้จัก

*ภาพประกอบจาก ‘สารคดี’

ภูมิปัญญาช่างไม้ไทย แห่งสุดท้ายของกรุงเทพฯ

ย้อนอดีตปี พ.ศ. 2504 ที่เริ่มมีการสร้างขยายถนนสายไม้บางโพกว้างเป็น 8 เมตร ถนนสายไม้บางโพ เป็นแหล่งรวมของไม้แปรรูปทุกชนิด โดยมีโรงเลื่อยตั้งอยู่ตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบที่สำคัญเข้าสู่โรงเลื่อย

ปัจจุบันถนนสายไม้บางโพ เป็นแหล่งสินค้าและบริการเกี่ยวกับไม้ที่ครบวงจร ต้นแต่วัตถุดิบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ไม้อัด วงกบ ประตูหน้าต่าง คิ้วไม้ บัวไม้ อุปกรณ์ฟิตติ้ง ผลิตภัณฑ์สีและกาว เครื่องมือช่างทั้งระบบไฟฟ้าและระบบลม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้จริง โซฟาหุ้มหนัง โซฟาหลุยส์ หลุยส์ หิ้งพระและโต๊ะหมู่บูชา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์สนับสนุนที่เพิ่มความครบถ้วน เช่น กระจก ขาสเตนเลส ขาเหล็ก และอื่น ๆ ที่สำคัญ ลูกค้ายังสามารถสั่งทำสินค้าตามความต้องการได้อีกด้วย

*ภาพประกอบจาก ‘สารคดี’

ภูมิปัญญาช่างไม้ไทย แห่งสุดท้ายของกรุงเทพฯ

ย้อนอดีตปี พ.ศ. 2504 ที่เริ่มมีการสร้างขยายถนนสายไม้บางโพกว้างเป็น 8 เมตร ถนนสายไม้บางโพ เป็นแหล่งรวมของไม้แปรรูปทุกชนิด โดยมีโรงเลื่อยตั้งอยู่ตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบที่สำคัญเข้าสู่โรงเลื่อย

ปัจจุบันถนนสายไม้บางโพ เป็นแหล่งสินค้าและบริการเกี่ยวกับไม้ที่ครบวงจร ต้นแต่วัตถุดิบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ไม้อัด วงกบ ประตูหน้าต่าง คิ้วไม้ บัวไม้ อุปกรณ์ฟิตติ้ง ผลิตภัณฑ์สีและกาว เครื่องมือช่างทั้งระบบไฟฟ้าและระบบลม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้จริง โซฟาหุ้มหนัง โซฟาหลุยส์ หลุยส์ หิ้งพระและโต๊ะหมู่บูชา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์สนับสนุนที่เพิ่มความครบถ้วน เช่น กระจก ขาสเตนเลส ขาเหล็ก และอื่น ๆ ที่สำคัญ ลูกค้ายังสามารถสั่งทำสินค้าตามความต้องการได้อีกด้วย

*ภาพประกอบจาก ‘สารคดี’

จุดเชื่อมต่อวัฒนธรรมไทย - จีน

ถนนสายไม้บางโพ คือ ชุมชนชาวไทย เชื้อสายจีน จากย้ายจากวัดญวณ สะพานขาว มาที่ซอยประชานฤมิตร พวกเขาไม่ได้นำเพียงแค่ทักษะฝีมืองานช่าง และการแกะสลัก แต่ยังนำวัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีชีวิต มาสู่บางโพด้วยเช่นกัน อันจะเห็นได้จากศาลเจ้าแม่ทับทิม ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ และศูนย์รวมวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีน
บนถนนสายไม้บางโพ ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมของสมาชิกในชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่ชุมชน และผู้มีความศรัทธาภายนอก มากราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

จุดเชื่อมต่อวัฒนธรรมไทย - จีน

ถนนสายไม้บางโพ คือ ชุมชนชาวไทย เชื้อสายจีน จากย้ายจากวัดญวณ สะพานขาว มาที่ซอยประชานฤมิตร พวกเขาไม่ได้นำเพียงแค่ทักษะฝีมืองานช่าง และการแกะสลัก แต่ยังนำวัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีชีวิต มาสู่บางโพด้วยเช่นกัน อันจะเห็นได้จากศาลเจ้าแม่ทับทิม ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ และศูนย์รวมวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีน
บนถนนสายไม้บางโพ ยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ คือ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมของสมาชิกในชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่ชุมชน และผู้มีความศรัทธาภายนอก มากราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย